19 หมู่ 5 ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160

โทรหาเรา

อีเมล

LINE@

ข้อมูลทั่วไปของเสาเข็ม Strength

หน้าแรก > บทความ > ข้อมูลทั่วไปของเสาเข็ม Strength

ข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับเสาเข็ม Strength

เสาเข็มนั้นจัดว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของตัวอาคารเป็นตัวทำหน้าที่ในการค้ำยันตัวอาคาร โดยทำการถ่ายน้ำหนักของตัวอาคารลงสู้พื้นล่าง ข้อมูลทั่วไปของเสาเข็ม Stake จะบอกคุณลักษณะของเสาเข็มในการรับน้ำหนัก

ลักษณะการรับน้ำหนักของตัวเสาเข็มนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  1. การรับน้ำหนักจากตัวเสาเข็มเลย
  2. การรับน้ำหนักจากชั้นดิน

โดยการรับน้ำหนักจากชั้นดินนั้นจะเป็นการใช้ตัวแรงเสียดทานของดินนั้นทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักโดนทำงานร่วมกับการใช้ส่วนปลายของเสาเข็มในการรับแรงกดดันของตัวดิน โดยปกตินั้นเราจะตอกเสาเข็มให้เสาเข็มนั้นลึกไปจนถึงชั้นทรายเพราะว่าชั้นทรายนั้นสามารถรับน้ำหนักได้ดีที่สุดถ้าตัวเสาเข็มนั้นตอกไม่ถึงชั้นทรายจะทำให้ในอนาคตอาคารอาจทรุดตัวได้ ตอกเสาไทยไมโครไพล์

ประเภทของเสาเข็ม

เสาเข็มนั้นมีมากมายหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าลักษณะการใช้งานของแต่ละประเภทนั้นเป็นอย่างไร จึงจำแนกประเภทของเสาเข็มมาให้ดูดังนี้

เสาเข็มตอก

เสาเข็มตอก นั้นมีหลายประเภททั้ง เสาเหล็ก เสาไม้ เสาคอนกรีต โดยส่วนมากแล้วจะนิยมใช้เสาคอนกรีตมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าเสาไม้และเสาเหล็ก

โดยเสาเข็มคอนกรีดนั้นสามารถแบ่งย่อยๆออกมาได้อีก 2 ประเภทคือ

  1. เสาเข็มคอนกรีดเสริมเหล็ก
  2. เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง

เสาเข็มประเภทคอนกรตเสริมเหล็กอัดแรงจะเป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะว่าเสาเข็มชนิดนี้มีหน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกแล้วจะส่งผลกระทบต่อตัวอาคารข้างเคียงน้อยกว่า

ข้อเสียของเสาเข็มตอก คือ ไม่สะดวกกับไซต์งานที่มีพื้นที่แคบเนื่องจากต้องขนส่งด้วยรถขนาดใหญ่

วิธีการตอกเสาเข็ม โดยวิธีการตอกเสาเข็มนั้นต้องใช้ปั้นจั่นในการตอกลงไปในดินและช่วงสุดท้ายเป็นส่วนสำคัญในการตอกเสาเข็มจะต้องมีการตรวจเช็คการตอก 10ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เป็นการทดสอบว่าเสาเข็มตอกนั้นมีการทรุดตัวเกินกว่าที่ค่ากำหนดไว้หรือป่าวถ้าหากทรุดตัวเกินกว่าค่ากำหนดไว้แสดงว่าตัวเสาเข็มนั้นรับยังน้ำหนักได้ไม่ดีพอ

เสาเข็มแบบระบบเจาะ

  1. เสาเข็มเจาะระบบแห้ง เป็นเสาเข็มที่นำเข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอกซึ่งไม่สะดวกต่อการขนย้าย ให้สามรถนำไปทำงานในพื้นที่แคบๆ เสาเข็มระบบนี้นั้นเป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่มีรูปร่างเป็นวงกลมสามารถรับน้ำหนักในระยะปลอดภัยได้ 25-60 ตัน ต่อ 1 ต้น
  2. เสาเข็มเจาะระบบเปียก เป็นเสาเข็มที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่รูปหน้าตัดทรงกลมสามารถรับน้ำหนักในระยะปลอดภัยได้ 150-900 ตันต่อ 1 ต้น เสาเข็มแบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างขนาดใหญ่เช่น คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน เป็นต้น เสาเข็มแบบนี้เมื่อเจาะลงไปลึกมากกว่า 20 เมตร จะต้องใช้ตัวละลาย Bentonite ใส่ลงไปในหลุมที่เจาะอยู่เพื่อนำน้ำออกไปจากชั้นทรายเพื่อที่จะเทคอนกรีตตามลงไปได้

Related Posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า