ทำไมถึงต้องรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์
เสาเข็มไมโครไพล์ (Square Micropile) เป็นเสาเข็มที่ใช้ในการก่อสร้างระดับรากฐานของบ้าน ใช้สำหรับการ ตกแต่ง ต่อเติม หรือ Renovate ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของบ้านทาวน์โฮมสองชั้น โรงงาน อาคารจอดรถ หรืออาคารพาณิชต่างๆ เสาเข็มไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ต่อปัญหาการทรุดตัวของดินในระหว่างการตอก และเพิ่มรากฐานให้แข็งแรงในขณะที่ตอกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้โครงสร้างบ้านเรือนหรือสถานที่อาคารต่างๆที่ได้รับการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ มีความแข็งแรงทนทาน กะทัดรัด และใช้เวลารวดเร็วกว่าการตอกเสาเข็มปกติ
ข้อดีของการทำงานของเสาเข็มไมโครไพล์
รูปแบบการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ จำเป็นจะต้องใช้ปั้นจั่นชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า Drop Hammer System ซึ่งเป็นปั้นจั่นที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการตอกโดยเฉพาะ โดยไม่ให้เกิดผลกระทบรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละอองจากเศษดินปูน เสียงรบกวนจากภายในเวลาเดินเครื่องตอกเสาเข็ม ปัญหานี้จะคลี่คลายลงในเวลาอันรวดเร็ว หากใช้ปั้นจั่นชนิดนี้ รวมถึงมันยังมีขนาดเล็กกว่าปั้นจั่นปกติ ซึ่งง่ายต่อการเคลื่อนที่และเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆ เสาเข็มไมโครไพล์ จะทำหน้าที่ของมันได้ดียิ่งขึ้นในการตอกจมลงสู่พื้นดิน และไม่ทำให้พื้นที่เสียหาย ไม่ว่าคุณจะตอกชิดผนัง กำแพง กระจก หรือช่องว่างใดๆก็ตาม จะไม่ทำให้เกิดความสกปรกจนเกินไป เมื่อเสร็จสิ้นจากการตอก คุณก็สามารถดำเนินขั้นตอนต่อไปได้เลย ประหยัดได้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งและแรงงาน
ลักษณะของเสาเข็มไมโครไพล์ Square Micropile
เสาเข็มไมโครไพล์ ชนิด Square Micropile เป็น เสาเข็มทรงสี่เหลี่ยม ไม่ลบมุม โดย บริษัท ไทยไมโครไพล์ จำกัด เป็นเสาที่มีคุณภาพและมีลักษณะเฉพาะตัว มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ที่ 8 – 10 เซนติเมตร ความยาว 1.5 เมตร ต้องทำการตอกโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เท่านั้น เพื่อลดแรงดันในระหว่างการตอกลงไป หรือระหว่างการเชื่อมเสาเข้าด้วยกันเพื่อไม่ให้พื้นดินทรุดตัว ตัวเสาจะมีรูกลวงเอาไว้เชื่อมต่อเข้ากับเสาอีกต้นหนึ่ง สามารถตอกลงไปได้ลึกจนถึงชั้นดินแข็ง (ราว 18 -21 เมตร) ทำให้หมดปัญหาการทรุดตัวของบ้านและโครงสร้างในอาคารเรือนต่างๆ
นอกจากนี้แล้ว คุณสมบัติของเครื่องปั้นจั่นพิเศษ ก็มีความสำคัญต่อเสาเข็มไมโครไพล์ไม่แพ้กัน เนื่องจากเป็นเครื่องที่เข้าถึงพื้นที่ขนาดเล็กได้ดี ประกอบกับมีส่วนประกอบสำคัญเป็น ตุ้มเหล็ก (น้ำหนักตามวิศวกรออกแบบ) ทำให้การทำงานของเครื่องมีประสิทธิภาพได้ดีกว่าการตอกเสาเข็มธรรมดา อีกทั้งยังสามารถถอดเก็บขนย้ายไปที่ไหนก็ได้ เมื่อถึงหน้างานก็เพียงแค่ประกอบโดยช่างผู้เชี่ยวชาญและดำเนินงานได้จริง แต่ก็ต้องให้วิศวกรมาตรวจสอบพื้นที่ก่อนว่า ตรงนั้นมีความเหมาะสมในการรับน้ำหนักและต่อเติมโครงสร้างอาคารหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นรอยร้าว การทรุดตัว จนไปถึงขึ้นต้องรื้อใหม่ ทุกอย่างสามารถแก้ได้ด้วยการตรวจสอบและตอกเสาเข็มเพิ่มเติมเพื่อหยุงตัวให้อาคารมีความแข็งแรงมากขึ้น