19 หมู่ 5 ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160

โทรหาเรา

LINE@

ปัญหาของการต่อเติม

หน้าแรก > บทความ > ปัญหาของการต่อเติม

ปัญหาอุปสรรคสำหรับการต่อเติม

ปัญหาของการต่อเติม ปัญหาคาใจต่อเติมบ้านแล้วบ้านทรุดหนึ่งในบรรดาปัญหาบ้านทรุดที่มักคาใจเจ้าของบ้านคือ หลังจากต่อเติมแล้ว พอใช้งานไปสักระยะหนึ่งส่วนต่อเติมมักจะทรุดหลุดออกมาจากตัวบ้าน เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่ามีปันหาอะไร

ทำไมบ้านจึงทรุด

บ้านปกติมักลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งจึงได้รับแรงพยุง 2 ส่วนคือ

  1. แรงเสียดทานจากดินอ่อน
  2. แรงดันจากชั้นดินแข็ง

ในขณะที่ครัวส่วนต่อเติมมักลงแค่เสาเข็ม จึงมีแรงพยุงเพียงส่วนเดียว คือแรงเสียดทานจากดินอ่อนเท่านั้น และนี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้ครัวส่วนต่อเติมทรุดตัวเร็วกว่าบ้านหากเกิดปัจจัยให้ชั้นดินอ่อนยุบตัวเร็ว เช่น ความดันน้ำลดต่ำลงกว่าปกติ (มักเกิดบริเวณกรุงเทพฯและพื้นที่รอบๆ) ผิวดินพร้อมส่วนต่อเติมที่ลงเสาเข็มสั้นไว้ก็จะทรุดตามด้วยเช่นกัน

ทรุด ร้าว รั่ว

การต่อเติมครัวหรือส่วนต่อเติมใดๆ นอกจากจะต้องแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านแล้ว ควรจบงานรอยต่อพื้นและผนังให้ถูกต้องด้วย ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยคือ ช่างมักก่อผนังหรือหล่อพื้นชนเชื่อมติดกับบ้านเดิม ต่อมาเมื่อพื้นดินทรุดตัวลงจากน้ำหนักกดทับของส่วนต่อเติม อาจรวมถึงปัจจัยอื่น เช่น พื้นดินถมไว้ไม่นานพอ หรือเคยเป็นบ่อบึงมาก่อนเป็นต้น ส่วนต่อเติมก็จะทรุดตามพื้นดินจนเกิดการฉีกขาดแตกร้าวบริเวณรอยต่อ ทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ง่าย วิธีที่ถูกต้องคือให้ใช้โฟมคั่นระหว่างรอยต่อดังกล่าว ก่อนจะยาแนวด้วย PU หรือ Silicone นอกจากนี้เพื่อให้การทรุดตัวเป็นไปอย่างช้าๆ อาจเลือกใช้วัสดุกับเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักเบา รวมถึงกระจายน้ำหนักเฉลี่ยหลายด้านเพื่อหลีกเลี่ยงการทรุดตัวแบบเอียง

เรื่องกฎหมายและผลกระทบกับบ้านข้างเคียง

การต่อเติมบ้าน สำหรับอาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮ้าส์ หรือแม้แต่บ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่ไม่มากนักผิดกฎหมายแทบทุกหลัง เนื่องจากตามกฎหมายได้กำหนดพื้นที่ว่างไว้สำหรับอาคารแต่ละชนิด ซึ่งการก่อสร้างก็มักจะก่อสร้างเต็มพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นท่านเจ้าของบ้านต้องระมัดระวังเรื่องดังกล่าวไว้บ้าง ซึ่งปกติเจ้าหน้าที่ก็รู้ถึงความจำเป็นดังกล่าวจึงมักจะไม่เข้ามาวุ่นวาย ยกเว้นกรณีที่มีผู้ร้องเรียน ดังนั้นก่อนที่ท่านจะต่อเติมก็ควรจะบอกกล่าวบ้านข้างเคียงให้ทราบว่าท่านจะต่อเติม และจะต่อแบบใด เพื่อไม่ให้กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของบ้านข้างเคียง เช่น อย่าต่อเติมจนชิดกับข้างบ้าน หรือต่อเติมแล้วเปิดหน้าต่าง หรือช่องระบายลมไปชิดข้างบ้านจนเสียง, แสง หรือกลิ่นในครัวไปรบกวนข้างบ้าน การตอกเสาเข็มก็ควรที่จะตอกเสาเข็มพื่อการสั่นสะเทือนน้อยต่อบ้านข้างเคียง การระบายน้ำฝนจากส่วนต่อเติมก็ต้องมีรางน้ำ อย่าให้น้ำตกไปฝั่งข้างบ้าน โดยเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างว่า ถ้าข้างบ้านทำกับเราอย่างนี้ เราจะรับได้หรือไม่

Related Posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า