เสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะแตกต่างกันอย่างไร
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งจะเลือกใช้เสาเข็มในแต่ละงาน ความแตกต่างระหว่างเสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะ การใช้เสาเข็มแบบเจาะ จะใช้พื้นที่ในการทำงานมากกว่าการใช้เสาเข็มแบบตอก ดังนั้น ถ้าต้องการตอกเสาเข็มในพื้นที่แคบ เสาเข็มแบบตอกนี้จึงใช้ได้ดีกว่าเสาเข็มแบบเจาะ โดยเสาเข็มแบบตอกนั้น ขณะทำการตอกเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่า หน้างานสะอาดกว่า ก่อนอื่นเรามาดูกันเลยว่าเสาเข็มมีกี่ประเภท
เสาเข็มแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
- เสาเข็มเจาะ จะมีขั้นตอนการทำงานมากกว่าเสาเข็มแบบตอก คือ ต้องใช้หัวเจาะเอาดินขึ้นมาเพื่อหย่อนแบบหล่อเสาเข็มลงไป ผูกเหล็กเส้น และเทคอนกรีต ลงในหลุมเสาเข็มแต่ละหลุม (โดยต้องมีรถปูนอยู่ภายในพื้นที่) มีขั้นตอนการทำงานมากกว่าเข็มตอก ต้องขนดินออกจากพื้นที่ในกรณีที่ไม่สามารถนำดินไปใช้ประโยชน์ใดๆ ได้ต่อ
- เสาเข็มตอก คำว่าตอก คือใช้กำลังตอกลงไป อาจใช้กำลังคน หรือเครื่องจักรก็ได้ มีทั้งเสาเข็มแบบตันและแบบกลวง ซึ่งการตอกเสาเข็มประเภทนี้นั้นมีขนาดของปั้นจั่นเล็กใหญ่ ตามลักษณะของพื้นที่หน้างานและการรับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้าง หากเป็นการก่อสร้าง ต่อเติม Renovate โดยมีข้อจำกัดของพื้นที่และไม่อยากให้เกิดมลภาวะทางเสียง และหน้างานสะอาดไม่ต้องขนดินไปทิ้ง เสาเข็มไมโครไพล์ จึงเหมาะสมที่สุด
เสาเข็มเจาะ และเสาเข็มตอกจึงแตกต่างกันที่วิธีการ ขนาด และ ผลต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนข้อจำกัดของพื้นที่การทำงาน น้ำหนักที่ต้องการรับ Load ของงานแต่ละที่ ทั้งนี้ อยู่ที่ดุลยพินิจของวิศวกรหรือผู้ออกแบบ ว่าจะเลือกใช้เสาเข็มแบบไหนที่เหมาะกับหน้างานมากที่สุด