19 หมู่ 5 ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160

โทรหาเรา

อีเมล

LINE@

เกร็ดความรู้การก่อสร้างและต่อเติมบ้าน

หน้าแรก > บทความ > เกร็ดความรู้การก่อสร้างและต่อเติมบ้าน

ทำความเข้าใจในการก่อสร้างบ้านและต่อเติมบ้าน

เราต้องเข้าใจความต้องการของตัวเอง รวมถึงสิ่งที่จำเป็นต่างๆที่จะทำให้บ้านของเราเป็นเหมือนที่พักกายและที่พักใจ ในยามที่เราพักคนที่ปลูกสร้างบ้านเองมักมีปัญหายุ่งยากชวนให้ปวด เมื่อเริ่มทำการก่อสร้างก็มีปัญหาการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างเพราะเปลี่ยนแปลงความต้องการในการใช้งาน แต่จริงๆแล้วการสร้างบ้านของตนเองนี้ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการก่อสร้างทั้งหมดก็ได้ แต่เพียงแค่ทราบรายละเอียดหลักๆที่จะทำให้ได้บ้านที่ทั้งสวย และมั่นคงปลอดภัยก็พอแล้ว

การขออนุญาตก่อนปลูกบ้าน

  1. กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร
  2. แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด
  3. หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และวิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต
  4. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง
  5. สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน

วิธีการแบ่งงานของสถาปนิกและมัณฑนากร

  • งานของสถาปนิก คือ การออกแบบตัวบ้านเพื่อครอบคลุมห้องต่างๆให้กลมกลืนและมีความงามต่อเนื่องกัน พร้อมทั้งสามารถป้องกันแดดฝนรวมถึงการรับลมตามธรรมชาติด้วย
  • งานของมัณฑนากร คือ การออกแบบตกแต่งภายใน รวมถึงรายละเอียดของผนัง พื้น ฝ้าเพดาน พร้อมทั้ง เฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยที่สถาปนิกออกแบบไว้

ขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน

  1. ตอกเสาเข็ม หล่อฐานรากหรือ เสาเข็ม คานคอดิน และตั้งเสาชั้นล่าง
  2. หล่อคานชั้นบน และเสาสำหรับรับหลังคาชั้น 2
  3. มุงหลังคา ก่ออิฐผนัง ฉาบปูน ติดตั้ง วงกบ ใส่ฝ้าเพดาน
  4. ปูวัสดุพื้น ติดตั้งประตู หน้าต่าง ติดตั้งระบบท่อน้ำ
  5. บุผนังกระเบื้อง ติดตั้งสุขภัณฑ์ ทาสี เดินสายไฟ ติดตั้งดวงโคม เก็บรายละเอียดส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย

การสร้างสิ่งปลูกสร้าง

เพื่อความเข็งแรงคงทนถาวร เราควรจะต้องเน้นเรื่องฐานรากให้มาก เพราะว่าฐานรากถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของโครงสร้าง เสาเข็ม จึงมีส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักโครงสร้างเป็นอย่างมากสำหรับสิ่งปลูกสร้างก็จะใช้เสาเข็มแตกต่างกันไป อย่างเช่น บ้านจะใช้ เสาเข็มจะรับน้ำหนักได้มากหรือขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆ ประการด้วยกัน เช่น ขนาดของเสาเข็ม รูปทรงของเสาเข็ม ความลึกในการตอกเสาเข็ม เป็นต้น

สภาพดินก็มีส่วนสำคัญมากเช่นกัน ว่าเสาเข็มจะรับน้ำหนักได้มากน้อยเพียงใด เพราะว่าดินแต่ละพื้นที่ก็มีสภาพแตกต่างกันออกไปแล้วแต่สภาพของดิน ดังนั้นการตอกเสาเข็มต้องเลือกให้ดี และตอกให้ได้ความลึกที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มยืนอยู่บนชั้นดินที่แข็งพอจะสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้

Related Posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า